วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การปลูกผักไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์)

        การปลูกผักในระบบไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกผักโดยใช้น้ำเป็นวัสดุปลูก มีการจัดการสารละลายให้มีองค์ประกอบของน้ำ อาหาร และอากาศ ตามความต้องการของรากพืชอย่างเหมาะสม ส่วนวัสดุที่ใช้พยุงลำต้นจะใช้แผ่นโฟมหรือตาข่าย ลอยบนของน้ำสารละลายที่ใช้ปลูก การปลูกพืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์ สามารถปลูกได้ทุกที่ สะดวกในการดูแล ใช้พื้นที่น้อย ประหยัดแรงงาน ทำให้สังคมเมืองที่มีพื้นที่น้อยสามารถปลูกผักที่ สด สะอาด และปลอดภัยไว้รับประทานเองได้ ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในครัวเรือน ซึ่งเป็นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาแบบเศรษฐกิจพอเพียง 

การปลูกผักในระบบไฮโดรโปนิกส์เริ่มต้นดังนี้

        1.   การเลือกพื้นที่สำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน คือ
             1.1  ต้องมีน้ำที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอ
             1.2  มีแสงแดดส่องทั่วถึง อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง แปลงปลูกอยู่ขวางตะวันเพื่อแสงแดดจะได้
                   ส่องได้ทั่วถึง
             1.3 ควรเป็นพื้นที่ราบเรียบเพื่อจะได้ปรับระดับน้ำได้ 
             1.4 ต้องมีน้ำที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอ
             1.5 ต้องมีไฟฟ้าเข้าถึงในพื้นที่ 

2.     แปลงปลูก ซึ่งมี 2 แบบ คือ
        2.1       แบบราง เรียกว่า NFT หรือระบบน้ำไหลผ่าน คือน้ำจะไหลผ่านรากพืช
        2.2       แบบแปลงปลูก เรียกว่า DFT   หรือระบบน้ำลึก คือรากพืชจะแช่อยู่ในน้ำสารละลาย
3.     ระบบไฟ
4.     ระบบน้ำ
5.     วัสดุ และอุปกรณ์ ได้แก่
        5.1       ถังน้ำสำหรับใส่สารละลาย                           
        5.2       ท่อน้ำ                                                          
        5.3       พลาสติกดำปูพื้น                                            
        5.4       พลาสติกกัน UV มุงหลังคา                           
        5.5       มุ้งกันแมลง (เบอร์ 32)
        5.6       สายยาง
        5.7       คลิปล็อกหรือตัวหนีบ
        5.8       ฟองน้ำสำหรับเพาะ หรือเพอร์ไลท์
        5.9       ถาดเพาะหรือถ้วยปลูก
        5.10     ปั๊มอากาศ
        5.11     ถังผสมสารละลาย
        5.12     ปลั๊กไฟ
        5.13     แผ่นปลูก
        5.14     เมล็ดพันธุ์ผัก
        5.15     สารละลาย และ B
        5.16     สะดือแปลงปลูก

ขั้นตอนการเพาะ

1.     เตรียมเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการเพาะ
2.     เตรียมถาดพร้อมฟองน้ำสำหรับเพาะ
3.     นำฟองน้ำมาเรียงในถาดเพาะ แล้วราดน้ำให้ชุ่ม ใช้มือกดเพื่อให้ฟองน้ำดูดน้ำได้ดี แล้วเทน้ำ
        ที่ขังในถาดออก
4.     นำเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้มาใส่ในฟองน้ำตรงบริเวณที่กีดไว้ โดยใส่ประมาณ 1-2 เมล็ด ไม่ต้อง
        ลึกมาก
5.     เมื่อใส่ครบจำนวนตามที่ต้องการแล้ว ให้นำกระบอกฉีดน้ำมาฉีดฟองน้ำในถาดเพาะอีกรอบ แล้ว
        นำผ้าชุบน้ำให้เปียกหมาด ๆ มาคลุมถาดเพาะ หรือใช้พลาสติกดำปิดไว้ก็ได้ ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน
        โดยทุกเช้าต้องเปิดผ้าแล้วฉีดน้ำพรมฟองน้ำให้ชุ่มเสมอ
6.   เมื่อเมล็ดเริ่มงอก ให้นำถาดที่เพาะออกมารับแสงแดดโดยให้แสงส่องถึงรำไร เพื่อต้นผักจะได้รับ
      แสงอีก 7 วัน รวมตั้งแต่วันเพาะและรับแสงแดด เป็นเวลา 14 วัน ให้สังเกตุต้นผักที่  แข็งแรง มีใบงอก
      ออกมาเพิ่มขึ้น และรากเริ่มยาว ก็พร้อมจะลงแปลงปลูกได้

การเตรียมสารละลาย (จะผสมครั้งละ 10 ลิตร ซึ่งจะเป็น A = 10 ลิตร และ B = 10 ลิตร)

1.     เตรียมถังขนาดความจุ 10 ลิตร  จำนวน 2 ถัง
2.     ใส่น้ำในถัง ๆ ละ 10 ลิตร เพื่อเตรียมใส่สารละลายแต่ละตัว
3.     นำสารละลายมาใส่ในประมาณที่บอกมากลับกล่อง โดยใส่ทีละตัวและคนให้ละลายในน้ำ จนครบ
       2 ชนิด
4.     สารละลายที่ผสมแล้วให้เก็บไว้ในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดด 

การเตรียมต้นกล้าผักสำหรับปลูก
1.     แยกฟองน้ำออกจากกันเป็นก้อน เพื่อเตรียมใส่ในแผ่นปลูก
2.     นำก้อนฟองน้ำมาใส่ในรูของแผ่นปลูกทีละต้น โดยใส่จากด้านล่างขึ้นบน
3.     ใส่ทีละแผ่นจนครบจำนวนสำหรับแปลงปลูก

การเตรียมแปลงปลูก

1.     ใส่น้ำในแปลงปลูกให้ปริมาณน้ำท่วมสะดือแปลง คือน้ำล้นออกจากรูสะดือ เสร็จแล้วคำนวณ
        ปริมาตรน้ำในแปลงเพื่อจะได้ใส่สารอาหารได้ถูกต้อง เช่น  แปลงปลูกกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร
        และปริมาณน้ำในแปลงสูง 4 ซม. ฉะนั้นจะคำนวณได้ดังนี้
        ปริมาณน้ำในแปลง =  กว้างxยาวxสูง     =  100x200x4  (ใช้หน่วยเป็นเซ็นติเมตร)

                                                                           1,000    (1 ลิตร = 1000 มิลลิลิตร)

                                                                   =  80 ลิตร

        ต้องการค่า EC                                  =  1.5 (ผักสลัด)

                                                                      =   80 x 1.5

                                                                          100

                                                                 =  1.2 ลิตร (1,200 ซีซี)

        (1 ซีซี เท่ากับ 1 มิลลิลิตร)

2.    เมื่อคำนวณแล้วว่าต้องใส่สารละลายปริมาณเท่าไร ก็นำสารละลาย A ในแปลงที่เตรียมสำหรับ
       ปลูกก่อน  แล้วเว้นไว้ประมาณ 30 นาที ให้ใส่สารละลาย B ตามไป  (ช่วงระหว่างรอใส่สารละลาย B
        ให้นำแผ่นปลูกที่ใส่ผักแล้วมาวางในแปลงปลูกได้เลย)

การดูแลผักในแปลงปลูก (ช่วงอายุ 30-40 วัน)

1.     สังเกตุต้นผักว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เช่น เหี่ยวเฉา หรือใบเหลือง เป็นต้น
2.     สังเกตุแมลงต่าง ๆ  เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอน  เป็นต้น
3.     ดูน้ำในระบบ และถังสารละลายว่าลดลงหรือไม่ ถ้าลดให้เติมน้ำในถังให้พอดีกับครั้งแรกตอนที่ปลูก
4.     เติมสารละลาย A และ B โดยเว้นช่วงห่างกัน 30 นาที เช่นเดิม ในแต่ละอาทิตย์ของช่วงอายุผัก
5.     อาทิตย์ก่อนการเก็บผัก ให้คอยดูน้ำในถังเพราะจะลดเร็วมาก บางครั้งอาจจะไม่ถึงอาทิตย์ เพราะผัก
        เริ่มโตมากขึ้น จะกินน้ำเยอะ ให้เติมน้ำเปล่าอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเติมสารละลายอาหารอีก
6.     เมื่อครบอายุของผักแต่ละชนิดแล้ว ก็สามารถเก็บได้ ให้ดูที่ต้นผักประกอบด้วยว่าสามารถเก็บได้
       หรือยัง

การล้างแปลงผักหลังจากเก็บ

1.     เมื่อเก็บผักออกแปลงเรียบร้อยแล้ว ให้ถอดปลั๊กไฟที่เสียบปั๊มน้ำออก เพื่อปล่อยน้ำออกจากแปลง
        เสร็จแล้วก็ล้างแปลงให้สะอาด เพื่อไม่ให้ตะกอนของสารอาหารตกค้าง แล้วทิ้งตากแดดไว้
        ประมาณ  1-2 วัน
2.     นำแผ่นปลูกมาทำความสะอาด โดยล้างแต่ละแผ่นให้สะอาด แล้วตากไว้ให้แห้ง เพื่อเตรียมปลูก
       รอบต่อไป

 หมายเหตุ  ก่อนการเก็บผัก 14 วัน ต้องเตรียมเพาะเมล็ดสำหรับรอบต่อไปไว้ด้วยเพื่อจะ
                    ได้ปลูกผักอย่างต่อเนื่อง